ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร (ภาคอีสาน) 2.ซุปหน่อไม้ "ซุปหน่อไม้" นั้นเป็นอาหารพื้นบ้านของภาคอีสานที่เราค่อนข้างจะคุ้นเคย หากพูดถึงส้มตำก็ต้องมีซุปหน่อไม้ ซึ่งผู้นิยมอาหารอีสานมักจะสั่งมาควบคู่กับส้มตำด้วยเสมอ เพราะอร่อยแซ่บหลายอย่าบอกใคร แม้แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวก็โปรดปรานชื่นชอบเมนูอาหารไทยนี้เป็นจำนวนมาก สำหรับวิธีการทำซุปหน่อไม้นั้นคุณสามารถทำรับประทานเองได้แสนง่าย คือการนำหน่อไม้รวก มาต้มกับใบย่านางจนสุก แล้วตักเอาเฉพาะเนื้อหน่อไม้ที่เตรียมไว้และน้ำใบย่านางอีกเล็กน้อย เอามาปรุงแต่งรสชาติด้วยข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชีฝรั่ง พริกป่น คลุกเคล้ากับน้ำมะนาว น้ำปลา เพียงเท่านี้ก็ได้รสชาติอร่อยแบบแซ่บสุดๆแล้ว *เมนูแสนอร่อยแห่งแดนอีสาน ทำได้ง่ายๆ ประหยัดเงินในกะเป๋าด้วย ลองทำรับประทานกันดูนะครับ
บทความ
กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2017
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร (ภาคอีสาน) 1.ส้มตำหรือตำส้ม "ส้มตำ'' มาจากการนำคำสองคำมาผสมกัน คำว่า “ส้ม” มาจากภาษาท้องถิ่นหมายความว่า รสเปรี้ยว ส่วน “ตำ” มีความหมายว่าการใช้สากหรือสิ่งของอื่นๆ บุบหรือกระแทกลงไป ส้มตำคือการนำผักผลไม้หลากชนิดมาตำในครกดินให้พอบุบ แล้วตำเคล้าเพื่อให้น้ำปรุงรสซึมเข้าไปในเนื้อผักผลไม้ ส้มตำใช้เส้นมะกะลอเป็นวัตถุดิบหลักเจอได้ตามร้านส้มตำทั่วไป โดยมีความเผ็ดแซ่บจากพริกสดหรือพริกแห้ง และกระเทียม ได้ความเค็มของน้ำปลาร้าและน้ำปลา เพิ่มรสเปรี้ยวช่วยยั่วต่อมรับรสให้น้ำลายสอด้วยมะนาว มะเขือเทศ ตัดรสเผ็ดด้วยการทานคู่กับผักสด แคบหมู เครื่องเคียงต่างๆ *ถ้าอยากให้เผ็ดถึงใจก็ใส่พริกเยอะๆนะครับ รับรองว่าทั้งแซ่บทั้งเผ็ดแน่นอน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้ายอาหาร (ภาคกลาง) 7.พะแนงหมู พะแนงหมู น้ำพริกแกงพะแนงที่ผัดจนหอม ตามด้วยเนื้อหมูสันในหั่นชิ้นบางๆ ผัดเข้าด้วยกันกับพริกชี้ฟ้า ใบมะกรูด มะเขือพวง จนได้อาหารไทยรสเลิศซึ่งเป็นสูตรต้นตำรับไทยเดิม เสน่ห์แกงไทยอย่างพะแนงหอมกลมกล่อมจะรับประทานมื้อไหนก็อร่อย ลองทำกันดูนะครับรับรองว่าต้องถูกใจแน่นอน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร (ภาคกลาง) 6.น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกลงเรือ เป็น น้ำพริกกะปิ ชนิดหนึ่งในตำรับอาหารชาววัง ที่มีรสชาติเปรี้ยวเค็มเผ็ดหวานอย่างกลมกลืน รับประทานเคียงกับทั้งผักต้มและผักสด คิดค้นโดย เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ เป็นอาหารที่ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี โปรด น้ำพริกลงเรือ เป็นน้ำพริกที่ถูกทำขึ้นครั้งแรกโดย เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 ที่ปฏิบัติงานในห้องพระเครื่องต้นในราชสำนักที่หม่อมเจ้าสะบาย นิลรัตน์ เป็นหัวหน้าห้องเครื่อง และ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นผู้คุมห้องต้นเครื่อง หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ หลานสาวของหม่อมเจ้าสะบาย นิลรัตน์ที่เข้ามาในห้องเครื่อง วังสวนสุนันทา มาแต่ยังเยาว์ได้อธิบายที่มาของชื่อน้ำพริกลงเรือไว้ว่า "...เจ้านายเล็ก ๆ เสด็จเล่นเรือกันไง เดือน 11-12 น้ำมันเจิ่ง ทีนี้มืดค่ำแล้วถึงเวลาเสวย ไม่เสด็จขึ้นจากเรือ คุณจอมสดับก...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร (ภาคกลาง) 5.แกงเผ็ด "แกงเผ็ด'' เป็นแกงกะทิที่สามารถเลือกสรรผักในแกงได้หลายแบบ หากเปิดตำราการทำแกงเผ็ดจะทึ่งว่ามีหลายสูตรมาก เนื้อสัตว์ก็สามารถใส่ได้หลากหลายทั้งปลา ไก่ เป็ด เป็นต้น ชื่อของแกงเผ็ดก็จะมีชื่อตามชนิดของเนื้อสัตว์ เช่น ใสปลาก็เรียกว่า แกงเผ็ดปลา ใส่ไก่ ก็เรียกว่า แกงเผ็ดไก่ เป็นต้น สำหรับผักก็สามารถใส่ได้หลากหลายตามชนิดที่ชอบ เช่นใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือยาว หน่อไม้ ยอดมะพร้าว และเห็ดฟาง เป็นต้น ดูจากรูปภาพที่นำมาแสดงแล้วถือว่าน่ารับประทานเลยทีเดียว
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร (ภาคกลาง) 4.มัสมั่นไก่ ''แกงมัสมั่นไก่'' แกงชนิดนี้รสชาติเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายคน เพราะมีทั้ง รสเผ็ด หวาน และหอมมันจากกะทิ แกงมัสมั่น เป็นแกงอีกชนิดหนึ่งที่บอกเล่าความพิถีพิถันของอาหารไทยได้ดี ที่จะต้องใส่ใจตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบที่ดีมาทำเป็นพริกแกง จากนั้นก็พิถีพิถันในการปรุงจนได้แกง
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร (ภาคกลาง) 3.ต้มโคล้ง " ต้มโคล้ง '' เป็นต้มยำชนิดหนึ่งที่ต้องใช้พริกแห้งเผาจะเป็นพริกขี้หนูหรือพริกชี้ฟ้าก็ได้ ตามด้วยหอมแดงเผาพอสุกใส่เข้ากับเครื่องต้มยำปกติคือตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด ต้มโคล้งไม่นิยมใส่พริกขี้หนูสดและต้องต้มกับปลาย่าง ส่วนมากนิยมใช้ปลาเนื้ออ่อน ปลากด ปลากระทิง ปลาย่างที่นำมาต้มโคล้งควรเป็นปลาย่างรมควันค่อนข้างแห้ง และลักษณะของต้มโคล้งจะปรุงรสเปรี้ยวด้วยน้ำส้มมะขาม ซึ่งเข้ากันดีกับกลิ่นปลาย่าง พริกเผา หอมเผา
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร (ภาคกลาง) 2. แกงเลียง " แกงเลียง " เมนูอาหารภาคกลางอีกหนึ่งเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นแกงไทยที่มีมาแต่โบราณ มีการปรุงรสจากผักสารพัดชนิด โดยจะเน้นที่ผักมากกว่าเนื้อสัตว์ น้ำแกงที่ได้จะข้นสักหน่อย มีรสเผ็ดร้อนจากพริกไทยแต่ไม่เผ็ดจัดจนเกินไป รสชาติเค็มพอดี ออกหอมหวานนิดๆที่ได้จากผักสมุนไพรสดๆหลากชนิด ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นบ้านหาง่าย เช่น ฟักทอง บวบ น้ำเต้าอ่อน ตำลึง หัวปลี เป็นต้น ที่มีสรรพคุณทางยาอยู่มาก และผักที่ขาดไม่ได้คือใบแมงลักซึ่งทำให้แกงเลียงมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ และในใบแมงลักนี้ยังให้สารเบต้าแคโรทีน ป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือดอีกด้วย
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญา ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา ภูมิปัญญาไทย (Thai wisdom) หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอดพัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาท้องถิ่น(local wisdom ) หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธีเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการด าเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาไทยด้านอาหา...