บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ขนมจ่ามงกุฏ จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ขนมจ่ามงกุฏต้นตำรับเดิมเป็นของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่  2  จะใช้ความหอมจากดอกไม้สด นำมาอบกับน้ำสุกที่ใช้คั้นน้ำกะทิ เช่น ดอกชมขนาด ดอกกระดังงาไทย ดอกกุหลาบมอญ ดอกมะลิ และเทียนอบขนม การเก็บรักษาง่าย ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น เนื้อขนมสีขาวนวล โบราณของแท้จะใช้แป้งทอดตัดเป็นชิ้นเล็กเท่าเม็ดข้าวสุกโรยในตัวขนม ปัจจุบันใช้ถั่วคุดคั่วหรืออบซอยโรยแทน เพราะสะดวกในการทำหรือเม็ดแตงคั่วตกแต่ง  ( ศึกษาค้นคว้าจากจดหมายเหตุและตำราจากวิทยาลัยในวังและอาจารย์ถ่ายทอด ขนมจ่ามงกุฎ นิยมทำกันในงานฉลองยศ ฉลองตำแหน่ง เพราะมีความหมายว่าจะมีลาภยศอันสูงส่งเป็นนิมิตหมายอันดีในหน้าที่การงานสืบไป ส่วนในงานแต่งงานจะแทนคำอวยพรให้เจริญก้าวหน้าเพียบพร้อมด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ทองหยิบ - ทองหยอด ทองหยิบ ทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่อยู่ในชุดของขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่นกันเพราะขึ้น ต้นด้วยทองซึ่งมีลักษณะและสีคล้ายกัน ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ในพิธีจะใช้เป็นชุดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะถือเคล็ดที่ชื่อขนมขึ้นต้นด้วยทอง แล้ว ยังถือเคล็ดชื่อต่อท้ายคือหยิบ ซึ่งหมายถึง หยิบเงิน หยิบทองอันจะนำไปสู่ความ ร่ำรวยต่อไป ทองหยอด ทองหยอดเป็นขนมโบราณชนิดหนึ่งซึ่งท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ หรือนามเดิม มารี นินยา เดอ กีย์มาร์ เชื้อสายญี่ปุ่น – โปรตุเกส ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (นามเดิมคอนสแตน ติน ฟอลคอลชาวกรีก) ท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า เป็นตำแหน่ง ผู้ปรุงอาหารหลวงโดยท่านได้นำเอาความรู้ที่มีมาแต่เดิมผสมผสานกับความรู้ท้องถิ่น ปรุงแต่งอาหารขึ้นใหม่ จนเป็นที่รู้จัก คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง (เดิมชาวโปรตุเกส กินกับเนื้อย่างเป็นอาหารคาว)นับเป็นขนมชั้นดี ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ซึ่งคนไทยเรายังถือ เคล็ดกันอยู่จึงใช้ขนมที่ขึ้นต้นด้วยทอง เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลตามชื่อขนม
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ขนมชั้น ขนมชั้นเป็นขนมไทยโบราณที่จัดอยู่ใน ขนมประเภทแข้น (กึ่งแห้งกึ่งเปียกหรือแข็ง) ในอดีตนิยมใช้ขนมชั้นในงานฉลองยศ เพราะมีความหมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์ คนโบราณนิยมทำกันถึง 9 ชั้น เพราะถือ เคล็ดเสียงของเลข“9”ว่าจะได้“ก้าวหน้า”ใน หน้าที่การงานนอกจากนี้พระยาอนุมานราชธน “เสฐียรโกเศศ”ได้เขียนไว้ว่าขนมชั้นยังจัดอยู่ ในชุดของขนมแต่งงานซึ่งในพิธีขันหมาก เนื่องจากมีชื่อที่เป็นสิริมงคล 
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ขนมเบื้อง ขนมเบื้อง เป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ มีหลักฐานกล่าวถึงใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และ กระทะ เตา ขนมครก ขนมเบื้อง" ขนมเบื้องมีหลายแบบ ขนมเบื้องแบบไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมหลักๆ คือ แป้งข้าวเจ้าและกระทิ ปรุงรสด้วยเกลือเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครทำแล้ว ขนมเบื้องไทยแบบชาววัง โดยทั่วไปมี 2 หน้าคือหน้ากุ้งและหน้าหวาน หน้ากุ้งใช้ กุ้งแม่น้ำ ตัวโตสับละเอียดผสมกับ พริกไทย และ ผักชี ตำพร้อม มันกุ้ง  นำไปผัดใส่น้ำตาล  น้ำปลา หรือ เกลือ ให้หอม ปัจจุบันมักเป็นหน้า มะพร้าว ใส่สีแดง ส่วนหน้าหวานมีส่วนผสมของฟักเชื่อม  ฝอยทอง และ พลับ แห้งที่หั่นบางๆ ปัจจุบันมีแต่ฝอยทองกับครีม อย่างไรก็ตามในวังสวนสุนันทา มีหน้าหมูอีกอย่างหนึ่ง ใช้หมูสับคลุกคล้ากับ กระเทียม  พริกไทย รากผักชีโขลก ใส่ พริกขี้หนู  นำไปรวนพอสุก ขนมเบื้องญวน เป็นขนมที่เข้ามาพร้อมกับเชลยชาวญวนในสมัย รัชกาลที่ 3  ซึ่งถูกกวาดต้อนมาระหว่าง สงครามสยาม-เวียดนาม  ขนมนี้ทำจากแป้งละลายกับไข่...
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ขนมบัวลอย ที่มาของขนมบัวลอย                เป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคล และงานพิธีการ วัตถุดิบการทำที่กลมกลืน พิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะ ชวนรับประทานตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานขนมแต่ละชนิดซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ ช่วงเวลาหรือเทศกาล วันไหว้บัวลอย             เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย   หรือ   เทศกาลตังโจ่ย   คือ วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว มีลักษณะเป็นวันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุดหรือวันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว โดยเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ถือเป็นเทศกาลสุดท้ายของชาวไทยเชื้อสายจีนในรอบหนึ่งปีปฏิทิน ซึ่งในเทศกาลนี้จะมีการทำขนมบัวลอย หรือ ขนมอี๋ มาไหว้ฟ้าดิน ปึงเถ่ากง ตี่จู๋เอี๊ย (เจ้าที่) เพื่อขอบคุณที่ได้ช่วยให้การดำรงชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดำรงมาได้อย่างราบรื่นตลอดปีที่ผ่านมา และเพื่อขอพรให้...
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ลูกชุบ ลูกชุบ " เป็นขนมประจำถิ่นโปรตุเกส แพร่หลายมาถึงย่านเมดิเตอร์เรเนียนแถบฝรั่งเศสตอนใต้ เพราะอยู่ใกล้บ้าน เช่น เมืองนิส เมืองคานส์ก็มีขนมลูกชุบมากมายทั้งเมือง ลูกชุบในภาษาโปรตุเกส เรียกว่า Massapa'es เป็นขนมประจำถิ่นของแคว้นอัลการ์อิ โดยโปรตุเกส ใช้เม็ดแอลมอลด์ เป็นส่วนผสมสำคัญ แต่ในประเทศไทยไม่มี จึงต้องใช้ถั่วเขียวแทน เนื่องจากขนมโปรตุเกสจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ความชำนาญพิเศษ จึงจะได้ขนมหวานที่รสชาติออกมาสีสวยงาม ลูกชุบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวบดกวนปั้นเป็นรูปร่างต่างๆระบายสี แล้วนำไปชุบวุ้นให้สวยงาม สีที่ใช้ทำลูกชุบนั้นนอกจากระบายลงบนถั่วเขียวกวนที่ปั้นแล้ว ยังใส่สีลงในถั่วกวนโดยตรงได้อีก เช่น สีเหลือง สำหรับขนมที่จะปั้นเป็นผลมะปรางใช้ฟักทองนึ่งแล้วยีละเอียดผสมในถั่วกวน สีแสด เช่นผลมะเขือเทศสีดา ใช้มะละกอสุกยีละเอียดผสมในถั่วกวน สีชมพู เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม ใช้หัวบีทรูทต้มยีละเอียดกรองแต่น้ำผสมในถั่วกวน สีแดง เช่นผลเชอรี่ ใช้หัวบีทรูทเช่นกัน แต่ใส่ให้มากขึ้น สีเขียว เช่น พุทรา มะยม ชมพู่เขียว ใช้ใบเตยหั่นละเอียดกรองเอ...
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ลอดช่อง ลอดช่อง.. .เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้น ขนมที่มีกินกันทั่ว ทุกท้องถิ่นแผ่นดินสยาม ไม่ว่าจะในงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่ง, งานบวช, งานขึ้นบ้านใหม่ หรือแม้กระทั่งงานสวดศพ ถ้วยนี้…เดิมเรียกว่า “นกปล่อย” เพราะลักษณะเฉพาะของตัวลอดปรื๊ดออกมา คล้ายกับมูลหรือขี้นกที่ปล่อยถ่าย… และมาเรียกกันว่า ลอดช่อง เมื่อใดไม่มีบันทึกไว้ในสมุดข่อย การทำลอดช่องยังมีการผลิตโดยใช้ข้าวเจ้าผสมกับสีสมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติใน ท้องถิ่น ถือว่าปลอดภัยแต่ก็มีปัญหาเนื่องจากขั้นตอนการผลิตที่ไม่สะอาดพอ อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน อาจเป็นสาเหตุทำให้ลอดช่องไม่สามารถเก็บไว้ได้ นาน…เกิดการเน่าเสียเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค…!!! ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป จากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ได้ร่วมกับ กลุ่มผู้ผลิตลอดช่องชุมชน ชาวหนองกระดิ่ง ตำบลหนองกระดิ่ง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย พัฒนาคุณภาพลอดช่องเป็นอาหาร ที่มีความสะอาดปลอดภัย สร้างเอกลักษณ์และมีคุณค่า ทางโภชนาก...
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย วุ้นกะทิ วุ้นกะทิเป็นขนมหวานที่ทำง่าย ราคาไม่แพงใช้รับประทานได้ทุกโอกาสและทุกวัย สามารถดัดแปลงให้มีรสชาติแตกต่างกัน ได้หลายรสเช่นวุ้นกะทิใบเตยวุ้นผลไม้รวมรสต่างๆ วุ้นกาแฟเป็นต้นนอกจากจะเพิ่มการปรุงแต่งด้วย รสชาติให้หลากหลายแล้วยังเป็นการเพิ่มความ สวยงามของสีสัน และเพิ่มกลิ่นได้อีกด้วย
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ขนมฝอยทอง ฝอยทอง  ( โปรตุเกส :  fios de ovos ,  ฟีอุชดือโอวุช , "เส้นด้ายที่ทำจากไข่") เป็น ขนม โปรตุเกส  ลักษณะเป็นเส้นฝอยสีทอง ทำจาก ไข่แดง ของ ไข่เป็ด เคี่ยวใน น้ำเดือด และ น้ำตาลทราย  ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับ ขนมปัง  กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับ ขนมเค้ก [2]  โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวรู (Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส  ฝอยทองเป็นที่รู้จักในประเทศสเปนว่า   อูเอโบอิลาโด   ( สเปน :   huevo hilado   "ไข่ที่ปั่นเป็นเส้นด้าย"), ญี่ปุ่นว่า   เครังโซเม็ง   ( ญี่ปุ่น :   鶏卵素麺   ?   "เส้นไข่ไก่") , กัมพูชาว่า   วาวี   และมาเลเซียว่า   จาลามัซ   ( มลายู :   jala mas   "ตาข่ายทอง") ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับ ทองหยิบ และ ทองหยอด   ในสมัย กรุงศรีอยุธยา   ในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช   โดยมารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา ( ท้าวทองกีบม้า , พ.ศ. 2202-2265) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญ...
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยในด้านความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม ความเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ความเชื่อบาป บุญคุณโทษ ความเชื่อเรื่องชาติภพ ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ เป็นต้น โดยมีการผสมผสานความเชื่อแบบศาสนาพราหมณ์รวมอยู่ด้วย เช่น ความเชื่อเรื่องเทพเทวดา พระอินทร์ พระพรหมท้าวจตุโลกบาลผู้รักษาทิศทั้งสี่ เป็นต้น ซึ่งเห็นได้จากเมื่อมีการประกอบพิธีกรรมใด ๆ ก็ตามเมื่อมีการกล่าวถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว มักจะมีกล่าวถึงเทพเทวดาต่างๆด้วย                     
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยกับความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อเกี่ยวกับตำนานบั้งไฟพญานาค     ครั้งเมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น พญาคันคาก ได้จุติอยู่ในครรภ์ของพระนางสีดา เมื่อเติบใหญ่ได้บำเพ็ญเพียรภาวนา จนพระอินทร์ชุบร่างให้เป็นชายหนุ่มรูปงาม พระอินทร์ได้ประธานนางอุดรกุรุตทวีปเป็นคู่ครอง พญาคันคากและนางอุดรกุรุตทวีป ได้ศึกษาธรรม และเทศนาสอนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ                             มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายครั้นได้ฟังธรรมจากพระโพธิสัตว์คันคากก็เกิดความเลื่อมใสจนลืม ถวายเครื่องบัดพลี พญาแถน ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ก่อกำเนิดเผ่าพันธุ์และบันดาลน้ำฝนแก่โลกมนุษย์                             พญาแถนครั้นไม่ได้รับเครื่องบัดพลีจากมนุษย์และสรรพสัตว์ รวมทั้งเทวดาที่เคยเข้าเฝ้าเป็นประจำ ไปฟังธรรมกับพญาคันคากจนหมดสิ้น จึงบังเกิด...
รูปภาพ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม เครื่องจักสานภาคใต้     ภาคใต้เป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบที่นำมาใช้ใน      การทำเครื่องจักสานได้หลายชนิด เช่น ไม้ไผ่ หวาย กระจูด และ ย่านลิเภา บริเวณชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปเป็นแหล่งสำคัญของการผลิตเครื่องจักสานของภาคใต้ มีเครื่องจักสานหลายอย่างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่ต่างไปจากเครื่องจักสานอื่นๆ เช่นเครื่องจักสานย่านลิเภาที่ทำกันมากในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องจักสานกระจูดทำกันมากในหลายท้องถิ่นในเขตจังหวัดพัทลุง สงขลา และปัตตานี นอกจากนี้ก็มีเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ทำกันทั่วไปแทบทุกจังหวัด           เครื่องจักสานพื้นบ้านของภาคใต้โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะถิ่นที่น่าสนใจมีหลายชนิดแต่มีเครื่องจักสานชนิดหนึ่งที่สร้างตามความต้องการในการใช้สอยตามสังคมเกษตรกรรมของชาวใต้ ที่มีความสวยงาม มีลวดลายที่ประณีตและเอื้ออำนวยต่อประโยชน์ใช้สอยเป็นอย่างดีทั้งยังสัมพันธ์กับความเชื่อถือของชาวใต้อย่างน่าสนใจ...
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม เครื่องจักสานภาคกลาง ภาคกลางมีพื้นที่กว้างขวางและอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ มีวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำเครื่องจักสานหลายชนิด และเครื่องจักสานภาคกลาง ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับสภาพภูมิศาสตร์ท้องถิ่น และขนบประเพณีของประชาชน ในท้องถิ่นต่างๆ เป็น อย่างดี  ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคกลาง ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ ที่ดินส่วนใหญ่ ใช้ทำการเกษตร จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้จักสานหลายชนิด โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่ม เจ้าพระยา ท่าจีน และแม่กลอง ซึ่งเป็นที่โล่ง ประชาชนนิยมปลูกไม้ไผ่ไว้ตามบริเวณหมู่บ้าน และตามหัวไร่ปลายนา และนอกจากนี้ในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี ลงไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีภูเขาตะนาวศรี เป็นแนวเขาที่มีป่าไม้ไผ่อยู่เป็นจำนวนมาก จากลักษณะดังกล่าว ทำให้บริเวณภาคกลางมีการทำเครื่องจักสานอย่างแพร่หลาย แต่ก็มีเครื่องจักสาน ส่วนที่ทำด้วยวัตถุดิบอย่างอื่นบ้าง ได้แก่ ใบลาน ใบตาล หวาย ผักตบชวา เป็นต้น  ลักษณะภูมิประเทศของภาคกลางดังกล่าว เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องจักสานในช...
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม เครื่องจักสานภาคอีสาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน เป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี หนองบัวลำพู มุกดาหาร ภาคอีสานเป็นดินแดนที่แยกจากที่ราบภาคกลาง โดยมีภูเขาที่ยกขึ้นมา ประดุจขอบของที่ราบสูง หันด้านชันไปทางภาคกลาง ด้านใต้มีด้านชันทางที่ราบต่ำเขมร ที่ราบสูงอีสานจะลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ทำให้แม่น้ำสายสำคัญๆ ของภาคนี้ ไหลจากตะวันตกไปยังตะวันออก ไปรวมกับแม่น้ำโขง  นอกจากประชากรในภาคอีสานจะมีความหลากหลายของลักษณะทางชาติพันธุ์แล้ว ยังมีวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียว เช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ในภาคเหนือ แม้ว่าคนอีสานจะบริโภคข้าวเหนียวเหมือนกับคนภาคเหนือก็ตาม แต่เครื่องจักสานที่เกี่ยวเนื่องด้วยการบริโภคข้าวเหนียวของภาคอีสาน มีลักษณะเฉพาะตน ที่ต่างไปจากของภาคเหนือ ถึงแม้จะใช้ประโยชน์ในการใส่ข้าวเหนียวเช่นเดียวกันก็ตาม  เครื่องจักสานภาคอีส...
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม เครื่องจักสานภาคเหนือ ภาคเหนือ หรือล้านนาไทย เป็นดินแดนที่มีศิลปวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น เป็นของตนเอง เป็นเหตุให้เครื่องจักสานในภาคเหนือ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น นอกจากนี้ ภาคเหนือ หรือล้านนาไทย มีสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ  สภาพการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ทำให้ภาคเหนือเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือเครื่องใช้จักสานที่สำคัญ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังมีวัตถุดิบหลายชนิด ที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ เช่น กก แหย่ง ใบลาน และไม้ไผ่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ไม้ไผ่  ซึ่งมีหลายชนิด ที่ใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี  นอกจากสภาพภูมิประเทศ และการประกอบอาชีพของภาคเหนือ ที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนทำเครื่องจักสานแล้ว ศิลปวัฒนธรรม ขนบประเพณี และศาสนาของภาคเหนือ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้เครื่องจักสานภาคเหนือ มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง  ภาคเหนือหรือล้านนาไทยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในวงล้อมของขุนเขา ทำให้ภาคเหนือมีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเองมาแต่โบราณ มีภาษาพูด ภาษาเขียน ขนบประเพณี เป็นของตน เอง เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นเหล่านี้ เป็น...
รูปภาพ
ภูมิปัญญาไทยด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ผ้าไหมไทย  ผ้าไหมมีถิ่นกำเนิดใน ประเทศจีน และ ประเทศอินเดีย  การทอผ้าไหมมีขึ้นราว 2,640 ปี ก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวจีนได้เผยแพร่ผ้าไหมสู่พื้นที่อื่นในแถบเอเชีย สำหรับ ประเทศไทย นักโบราณคดีพบหลักฐานที่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้ผ้าไหมเมื่อ 3,000 ปีก่อน การทอผ้าไหมในประเทศไทยในอดีตมีการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน ต่อมาในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 5) ได้ส่งเสริมให้ใช้ผ้าไหม ส่วนการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมได้รับการสนับสนุนจาก ประเทศญี่ปุ่น  แต่การดำเนินงานของโครงการก็ทำได้เพียงระยะหนึ่งมีอันต้องหยุดไป เนื่องจากเกษตรกรไทยยังคงทำในลักษณะแบบเดิมเพราะความเคยชิน ไม่ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความช่วยเหลือของญี่ปุ่น หลัง สงครามโลกครั้งที่สอง  ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของผ้าไหมไทยขึ้น โดย เจมส์ แฮร์ริสัน วิสสัน ทอมป์สัน ชาว สหรัฐอเมริกา หรือที่คนไทยรู้จักในนามว่า  จิม ทอมป์สั...