ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ขนมจ่ามงกุฏ จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ขนมจ่ามงกุฏต้นตำรับเดิมเป็นของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 2 จะใช้ความหอมจากดอกไม้สด นำมาอบกับน้ำสุกที่ใช้คั้นน้ำกะทิ เช่น ดอกชมขนาด ดอกกระดังงาไทย ดอกกุหลาบมอญ ดอกมะลิ และเทียนอบขนม การเก็บรักษาง่าย ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น เนื้อขนมสีขาวนวล โบราณของแท้จะใช้แป้งทอดตัดเป็นชิ้นเล็กเท่าเม็ดข้าวสุกโรยในตัวขนม ปัจจุบันใช้ถั่วคุดคั่วหรืออบซอยโรยแทน เพราะสะดวกในการทำหรือเม็ดแตงคั่วตกแต่ง ( ศึกษาค้นคว้าจากจดหมายเหตุและตำราจากวิทยาลัยในวังและอาจารย์ถ่ายทอด ขนมจ่ามงกุฎ นิยมทำกันในงานฉลองยศ ฉลองตำแหน่ง เพราะมีความหมายว่าจะมีลาภยศอันสูงส่งเป็นนิมิตหมายอันดีในหน้าที่การงานสืบไป ส่วนในงานแต่งงานจะแทนคำอวยพรให้เจริญก้าวหน้าเพียบพร้อมด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์
บทความ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ทองหยิบ - ทองหยอด ทองหยิบ ทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่อยู่ในชุดของขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่นกันเพราะขึ้น ต้นด้วยทองซึ่งมีลักษณะและสีคล้ายกัน ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ในพิธีจะใช้เป็นชุดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะถือเคล็ดที่ชื่อขนมขึ้นต้นด้วยทอง แล้ว ยังถือเคล็ดชื่อต่อท้ายคือหยิบ ซึ่งหมายถึง หยิบเงิน หยิบทองอันจะนำไปสู่ความ ร่ำรวยต่อไป ทองหยอด ทองหยอดเป็นขนมโบราณชนิดหนึ่งซึ่งท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ หรือนามเดิม มารี นินยา เดอ กีย์มาร์ เชื้อสายญี่ปุ่น – โปรตุเกส ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (นามเดิมคอนสแตน ติน ฟอลคอลชาวกรีก) ท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า เป็นตำแหน่ง ผู้ปรุงอาหารหลวงโดยท่านได้นำเอาความรู้ที่มีมาแต่เดิมผสมผสานกับความรู้ท้องถิ่น ปรุงแต่งอาหารขึ้นใหม่ จนเป็นที่รู้จัก คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง (เดิมชาวโปรตุเกส กินกับเนื้อย่างเป็นอาหารคาว)นับเป็นขนมชั้นดี ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ซึ่งคนไทยเรายังถือ เคล็ดกันอยู่จึงใช้ขนมที่ขึ้นต้นด้วยทอง เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลตามชื่อขนม
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ขนมชั้น ขนมชั้นเป็นขนมไทยโบราณที่จัดอยู่ใน ขนมประเภทแข้น (กึ่งแห้งกึ่งเปียกหรือแข็ง) ในอดีตนิยมใช้ขนมชั้นในงานฉลองยศ เพราะมีความหมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์ คนโบราณนิยมทำกันถึง 9 ชั้น เพราะถือ เคล็ดเสียงของเลข“9”ว่าจะได้“ก้าวหน้า”ใน หน้าที่การงานนอกจากนี้พระยาอนุมานราชธน “เสฐียรโกเศศ”ได้เขียนไว้ว่าขนมชั้นยังจัดอยู่ ในชุดของขนมแต่งงานซึ่งในพิธีขันหมาก เนื่องจากมีชื่อที่เป็นสิริมงคล
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ขนมเบื้อง ขนมเบื้อง เป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ มีหลักฐานกล่าวถึงใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และ กระทะ เตา ขนมครก ขนมเบื้อง" ขนมเบื้องมีหลายแบบ ขนมเบื้องแบบไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมหลักๆ คือ แป้งข้าวเจ้าและกระทิ ปรุงรสด้วยเกลือเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครทำแล้ว ขนมเบื้องไทยแบบชาววัง โดยทั่วไปมี 2 หน้าคือหน้ากุ้งและหน้าหวาน หน้ากุ้งใช้ กุ้งแม่น้ำ ตัวโตสับละเอียดผสมกับ พริกไทย และ ผักชี ตำพร้อม มันกุ้ง นำไปผัดใส่น้ำตาล น้ำปลา หรือ เกลือ ให้หอม ปัจจุบันมักเป็นหน้า มะพร้าว ใส่สีแดง ส่วนหน้าหวานมีส่วนผสมของฟักเชื่อม ฝอยทอง และ พลับ แห้งที่หั่นบางๆ ปัจจุบันมีแต่ฝอยทองกับครีม อย่างไรก็ตามในวังสวนสุนันทา มีหน้าหมูอีกอย่างหนึ่ง ใช้หมูสับคลุกคล้ากับ กระเทียม พริกไทย รากผักชีโขลก ใส่ พริกขี้หนู นำไปรวนพอสุก ขนมเบื้องญวน เป็นขนมที่เข้ามาพร้อมกับเชลยชาวญวนในสมัย รัชกาลที่ 3 ซึ่งถูกกวาดต้อนมาระหว่าง สงครามสยาม-เวียดนาม ขนมนี้ทำจากแป้งละลายกับไข่...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ขนมบัวลอย ที่มาของขนมบัวลอย เป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคล และงานพิธีการ วัตถุดิบการทำที่กลมกลืน พิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะ ชวนรับประทานตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานขนมแต่ละชนิดซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ ช่วงเวลาหรือเทศกาล วันไหว้บัวลอย เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย หรือ เทศกาลตังโจ่ย คือ วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว มีลักษณะเป็นวันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุดหรือวันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว โดยเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ถือเป็นเทศกาลสุดท้ายของชาวไทยเชื้อสายจีนในรอบหนึ่งปีปฏิทิน ซึ่งในเทศกาลนี้จะมีการทำขนมบัวลอย หรือ ขนมอี๋ มาไหว้ฟ้าดิน ปึงเถ่ากง ตี่จู๋เอี๊ย (เจ้าที่) เพื่อขอบคุณที่ได้ช่วยให้การดำรงชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดำรงมาได้อย่างราบรื่นตลอดปีที่ผ่านมา และเพื่อขอพรให้...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ลูกชุบ ลูกชุบ " เป็นขนมประจำถิ่นโปรตุเกส แพร่หลายมาถึงย่านเมดิเตอร์เรเนียนแถบฝรั่งเศสตอนใต้ เพราะอยู่ใกล้บ้าน เช่น เมืองนิส เมืองคานส์ก็มีขนมลูกชุบมากมายทั้งเมือง ลูกชุบในภาษาโปรตุเกส เรียกว่า Massapa'es เป็นขนมประจำถิ่นของแคว้นอัลการ์อิ โดยโปรตุเกส ใช้เม็ดแอลมอลด์ เป็นส่วนผสมสำคัญ แต่ในประเทศไทยไม่มี จึงต้องใช้ถั่วเขียวแทน เนื่องจากขนมโปรตุเกสจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ความชำนาญพิเศษ จึงจะได้ขนมหวานที่รสชาติออกมาสีสวยงาม ลูกชุบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวบดกวนปั้นเป็นรูปร่างต่างๆระบายสี แล้วนำไปชุบวุ้นให้สวยงาม สีที่ใช้ทำลูกชุบนั้นนอกจากระบายลงบนถั่วเขียวกวนที่ปั้นแล้ว ยังใส่สีลงในถั่วกวนโดยตรงได้อีก เช่น สีเหลือง สำหรับขนมที่จะปั้นเป็นผลมะปรางใช้ฟักทองนึ่งแล้วยีละเอียดผสมในถั่วกวน สีแสด เช่นผลมะเขือเทศสีดา ใช้มะละกอสุกยีละเอียดผสมในถั่วกวน สีชมพู เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม ใช้หัวบีทรูทต้มยีละเอียดกรองแต่น้ำผสมในถั่วกวน สีแดง เช่นผลเชอรี่ ใช้หัวบีทรูทเช่นกัน แต่ใส่ให้มากขึ้น สีเขียว เช่น พุทรา มะยม ชมพู่เขียว ใช้ใบเตยหั่นละเอียดกรองเอ...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูมิปัญญาไทยด้านขนมไทย ลอดช่อง ลอดช่อง.. .เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้น ขนมที่มีกินกันทั่ว ทุกท้องถิ่นแผ่นดินสยาม ไม่ว่าจะในงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่ง, งานบวช, งานขึ้นบ้านใหม่ หรือแม้กระทั่งงานสวดศพ ถ้วยนี้…เดิมเรียกว่า “นกปล่อย” เพราะลักษณะเฉพาะของตัวลอดปรื๊ดออกมา คล้ายกับมูลหรือขี้นกที่ปล่อยถ่าย… และมาเรียกกันว่า ลอดช่อง เมื่อใดไม่มีบันทึกไว้ในสมุดข่อย การทำลอดช่องยังมีการผลิตโดยใช้ข้าวเจ้าผสมกับสีสมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติใน ท้องถิ่น ถือว่าปลอดภัยแต่ก็มีปัญหาเนื่องจากขั้นตอนการผลิตที่ไม่สะอาดพอ อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน อาจเป็นสาเหตุทำให้ลอดช่องไม่สามารถเก็บไว้ได้ นาน…เกิดการเน่าเสียเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค…!!! ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป จากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ได้ร่วมกับ กลุ่มผู้ผลิตลอดช่องชุมชน ชาวหนองกระดิ่ง ตำบลหนองกระดิ่ง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย พัฒนาคุณภาพลอดช่องเป็นอาหาร ที่มีความสะอาดปลอดภัย สร้างเอกลักษณ์และมีคุณค่า ทางโภชนาก...